อยากติดตั้ง Solar Rooftop แต่พื้นที่หลังคาจำกัด? แนะนำข้อมูลสำคัญที่ควรรู้ ก่อนติดตั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้งาน
การติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อนำพลังงานแสงอาทิตย์มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้ากลายเป็นทางเลือกใหม่ของพลังงานสะอาดที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากราคาเข้าถึงง่าย เทคโนโลยีพัฒนาขึ้น และผู้ให้บริการอย่างบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่าเดิม แต่หากเราต้องการติดตั้งโซล่าเซลล์ในบ้านที่มีพื้นที่หลังคาจำกัดจะสามารถติดตั้งได้หรือไม่ และควรรู้อะไรก่อนทำการติดตั้งบ้าง คูลแม๊กซ์ โซล่าเซลล์ (Coolmax Solar Cell) มีคำตอบมาฝาก
บ้านหลังเล็ก พื้นที่หลังคาจำกัด สามารถติดตั้ง Solar Rooftop ได้หรือไม่?
หลายคนอาจมีภาพจำว่าการติดตั้ง Solar Rooftop ต้องติดตั้งบนหลังคาโรงงาน สำนักงาน โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า หรือบ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่กว้างพอ แต่หากต้องการติดตั้งให้กับทาวน์โฮมหรือบ้านขนาดเล็ก มีพื้นที่หลังคาจำกัด จะสามารถติดตั้งได้หรือไม่ ก่อนอื่นเลยลองมาดูกันก่อนว่าโซล่ารูฟทั่วไปต้องการพื้นที่ในการติดตั้งเท่าไร
การคำนวณพื้นที่สำหรับติดตั้งโซล่าเซลล์เป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องทำก่อนตัดสินใจลงทุน เนื่องจากช่วยให้เรารู้ว่าพื้นที่ที่มีอยู่นั้นเพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าตามความต้องการหรือไม่และต้องใช้แผงโซล่าเซลล์กี่แผง
ปัจจัยในการคำนวณ มีดังนี้
พื้นที่ว่างบนหลังคา: วัดพื้นที่ว่างทั้งหมดบนหลังคาที่สามารถติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ได้ โดยคำนึงถึงสิ่งกีดขวางอย่างท่อระบายน้ำ ช่องระบายอากาศ หรือเงาจากต้นไม้ด้วย
ทิศทางและความลาดเอียงของหลังคา: ทิศใต้เป็นทิศที่ได้รับแสงแดดมากที่สุด และความลาดเอียงที่เหมาะสมจะช่วยให้แผงโซล่าเซลล์รับแสงได้อย่างเต็มที่
กำลังไฟฟ้าที่ต้องการ: คำนวณได้จากประมาณการปริมาณการใช้ไฟฟ้ารายเดือน อาจดูหน่วยที่ใช้หรือค่าไฟในบิลการไฟฟ้าก็ได้
ประสิทธิภาพของแผงโซล่าเซลล์: เลือกแผงโซล่าเซลล์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้ได้กำลังไฟฟ้าสูงสุดแม้ติดตั้งในพื้นที่ที่จำกัด
สภาพอากาศ: ปริมาณแสงแดดในพื้นที่ส่งผลต่อปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้เสมอ
ตัวอย่างการคำนวณอย่างง่าย เช่น มีพื้นที่ว่างบนหลังคา 20 ตารางเมตร และเลือกใช้เลือกแผงโซล่าเซลล์ขนาด 400 วัตต์ หากแผงโซล่าเซลล์ 1 แผง มีขนาด 1.6 x 1 เมตร สามารถคำนวณจำนวนแผงจากสูตร = 20 ตารางเมตร / 1.6 ตารางเมตร/แผง = 12.5 แผง (ปัดขึ้นเป็น 13 แผง) สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้ = 13 แผง x 400 วัตต์/แผง = 5,200 วัตต์ หรือ 5.2 กิโลวัตต์ หรืออีกตัวอย่างการคำนวณพื้นที่ คือแผงโซล่าเซลล์ 450 วัตต์ จำนวน 1 แผง มีขนาดประมาณ 1.98 x 1.10 เมตร = 2.178 ตารางเมตร ซึ่งหากบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์คำนวณออกมาว่าบ้านของเราต้องใช้ 10 แผงสำหรับบ้านที่มีค่าไฟไม่เกิน 5,000 บาท ก็จะใช้พื้นที่ติดตั้งอยู่ที่ประมาณ 21 ตารางเมตรเท่านั้น ส่วนพื้นที่ทาวน์โฮมหรือบ้านขนาดเล็กทั่วไปอาจอยู่ที่ประมาณ 35 – 50 ตารางเมตร หากใช้จำนวนไฟน้อยกว่านี้พื้นที่ที่ใช้ก็จะลดลงไปด้วย เพราะฉะนั้นจะเห็นได้ว่าการติดตั้ง Solar Rooftop ไม่ได้ใช้พื้นที่เยอะอย่างที่คิด
ขั้นตอนสำคัญก็คือการเข้าสำรวจหน้างานเพื่อวัดพื้นที่ หาจุดติดตั้งที่เหมาะสม และคำนวณปริมาณการใช้ไฟเพื่อหาจำนวนแผงโซล่าเซลล์ที่เหมาะกับปริมาณที่ใช้งาน เพื่อให้การติดตั้งมีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับบ้านที่มีพื้นที่จำกัด
4 ข้อควรรู้ก่อนติดตั้ง Solar Rooftop
ตรวจสอบสภาพหลังคาก่อนติดตั้ง
ก่อนติดตั้ง Solar Rooftop ไม่ว่าจะเป็นหน้างานบ้าน โรงงาน หรืออาคารสำนักงานต่าง ๆ บริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ต้องเข้าสำรวจหน้างานเพื่อตรวจสอบสภาพหลังคาและพื้นที่ในการติดตั้งก่อนเสมอ โดยทำการเช็กอายุของหลังคา โครงสร้าง วัสดุ ความแข็งแรง และพื้นที่ เพื่อประเมินความสามารถในการรองรับน้ำหนักของแผงโซล่ารูฟ หากหลังคามีโครงสร้างเป็นไม้ก็ต้องวางแผนเพิ่มโครงสร้างเหล็กเพื่อช่วยรองรับน้ำหนัก เมื่อรวบรวมข้อมูลหน้างานเรียบร้อยแล้ว บริษัทก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวางแผนและออกแบบการติดตั้งที่เหมาะสมมากที่สุด
เลือกรูปแบบการติดตั้งให้เหมาะกับวัสดุมุงหลังคา
วัสดุมุงหลังคาแต่ละแบบมีคุณสมบัติแตกต่างกัน รูปแบบที่เหมาะสมกับการติดตั้ง Solar Rooftop ก็ต่างกันออกไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้อง เมทัลชีท หรือคอนกรีต จึงต้องวางแผนการติดตั้งให้เหมาะกับวัสดุแต่ละแบบ เพื่อความคงทน แข็งแรง ไม่ทำให้หลังคาเสียหาย รวมถึงไม่สร้างผลกระทบต่อโครงสร้างของอาคารด้วย
รูปแบบการติดตั้งโซล่ารูฟ
การติดตั้งโซล่ารูฟหลัก ๆ มีอยู่ 3 รูปแบบ ได้แก่
การติดตั้งโดยยึดกับจุดโครงสร้างเดิมของหลังคา มีข้อดีคือไม่ต้องเจาะหลังคา จึงติดตั้งง่ายและสะดวก ไม่เสี่ยงทำกระเบื้องหรือวัสดุมุงหลังคาแตกหักเสียหาย
การติดตั้งโดยเจาะกระเบื้องเพื่อยึดแผงโซล่ารูฟกับหลังคา วิธีการนี้จะใช้กาวซิลิโคนเป็นตัวช่วยยึด มีความแข็งแรง ทนทาน แต่ก็เสี่ยงทำวัสดุมุงหลังคาเสียหายหากไม่มีความชำนาญในการติดตั้ง
การติดตั้งแบบสอดใต้กระเบื้อง จะใช้ช่องว่างระหว่างรอยต่อกระเบื้องเพื่อติดตั้งอุปกรณ์ยึดเกาะของ แผงโซล่ารูฟ จึงไม่ต้องเจาะหรือรื้อนอตยึดกระเบื้องเดิมออก
วางแผนและออกแบบระยะการติดตั้งระบบไฟให้เหมาะสม
สิ่งที่มองข้ามไม่ได้เลยในการติดตั้ง Solar Rooftop ก็คือต้องวางแผนและออกแบบระยะการติดตั้งระบบไฟให้เหมาะสม คือสายไฟต้องมีระยะพอดีกับการติดตั้ง การเดินสายไฟระหว่างแผงโซล่ารูฟกับตู้ควบคุมควรมีความเรียบร้อย สวยงาม ใช้งานได้จริง และมีระยะที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ดังนั้นการสำรวจหน้างานและขั้นตอนการวางแผนเพื่อออกแบบจุดติดตั้งและระยะการเดินสายไฟจึงมีความสำคัญอย่างมาก
แม้ว่าบ้านจะมีพื้นที่จำกัดและหลังคาขนาดเล็ก ก็ยังสามารถติดตั้ง Solar Rooftop ได้ เพียงแต่ต้องมีการวางแผนและออกแบบระบบให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีอยู่ ที่สำคัญปัจจุบันเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น แผงโซล่าเซลล์มีขนาดเล็กลงแต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น มีระบบติดตั้งหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับลักษณะของหลังคาที่แตกต่างกัน และวิศวกรจะทำการคำนวณกำลังไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการใช้งานของบ้านและขนาดของพื้นที่ที่มีอยู่ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนติดตั้ง ดังนั้นการติดตั้ง Solar Rooftop สำหรับบ้านที่มีพื้นที่จำกัดจึงเป็นไปได้ แต่ต้องมีการวางแผนและออกแบบระบบอย่างรอบคอบ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่ากับการลงทุนมากที่สุด
หากท่านใดสนใจบริการรับติดตั้งโซล่าเซลล์ ติดตั้ง Solar Rooftop ปรึกษาบริษัทติดตั้งโซล่าเซลล์ คูลแม๊กซ์ โซล่าเซลล์ (Coolmax Solar Cell) เราคือผู้ให้บริการติดตั้ง และดูแลระบบโซล่าเซลล์ พร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาเกี่ยวกับระบบโซล่าร์เซลล์ครบถ้วน ครอบคลุม ตรงไปตรงมา บริการสำรวจหน้างานฟรี รับติดตั้งโซล่าเซลล์ทุกประเภท ทั้งระบบ On-Grid, Hybrid Off-Grid, Hybrid On-Grid ในราคาที่เหมาะสม ช่วยประเมินหน้างานเพื่อแนะนำระบบที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด และพร้อมให้บริการหลังการขายตลอดอายุการใช้งาน ทำให้ลูกค้าของเราเกิดความมั่นใจและความสบายใจ นอกจากนี้เรายังมีบริการติดตั้งแอร์โซล่าร์เซลล์เพื่อช่วยประหยัดค่าไฟในตอนกลางวัน ดำเนินการโดยทีมงานมืออาชีพที่มีความรู้ และเชี่ยวชาญจริง
สนใจบริการติดตั้งโซล่าเซลล์บ้าน ติดตั้งโซล่าเซลล์โรงงาน สอบถามราคาแผงโซล่าเซลล์สําหรับบ้าน
โทร : 091-760-0219, 080-280-0877
E-mail : nutthasit@coolmaxthailand.com
Line ID : @coolmaxsolarcell
Facebook : Coolmax Solar Cell
Comments